ตัวตนที่แท้จริง

ชื่อ นางสาวสุวรรณา แดงเวียง เกิดที่กรุงเทพ
โตที่แม่กลอง ทำงานที่ราชบุรี
นิสัย ร่าเริงแจ่มใส คุยสนุกไร้ทุกข์ไร้กังวล
เรียนจบป.ตรี พลศึกษา
ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพลศึกษา
จบป.โท พลศึกษา จาก จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย
ตอนนี้เรียนป.บัณฑิต การบริหารการศึกษาอยู่ที่
มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
ความสามารถพิเศษ ร้องเพลงและเล่นกีฬาได้
ชอบอาหารไทย ผลไม้ทุกชนิดก็ชอบ
งานอดิเรก อ่านหนังสือ ฟังเพลง ท่องเที่ยว
สิ่งที่ไม่ชอบ คนไม่จริงใจ
อนาคต อยากเป็นคุณยายใจดี (นะจะบอกให้)

วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2552

นางสาวสุวรรณา แดงเวียง เลขที่ 68
ป.บัณฑิตการบริหารการศึกษา รุ่น 8

ข้อสอบวิชา การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต การบริหารการศึกษา รุ่น 8

1. ท่านสามารถประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศในองค์กรของท่านได้อย่างไร บอกกรอบความคิด ขั้นตอน ผลกระทบให้เห็นกระบวนการคิดของท่านทั้งระบบ

ตอบ
การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศในองค์กรที่ทำการปฏิบัติหน้าที่คือ โรงเรียนสายธรรมจันทร์ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี สามารถนำระบบสารสนเทศ มาประยุกต์ใช้ในองค์กร โดยมีการนำระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน และในการบริหารงาน 4 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายบริหารทั่วไป ฝ่ายบริหารงานบุคคลและฝ่ายบริหารงบประมาณ ซึ่งสามารถประยุกต์ระบบสารสนเทศในแต่ละส่วนงานโดยมีกรอบ แนวคิด ขั้นตอนและผลกระทบ ดังนี้
กรอบแนวความคิด
จัดทำยุทธศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อเป็นทางเลือกในการนำ ICT เข้ามาใช้โดยคำนึงถึงเงื่อนไขและปัจจัยภายนอก วางเป้าหมายและพันธกิจในการดำเนินการ สร้างความเข้าใจและวิเคราะห์ข้อมูลจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ สร้างความร่วมมือกับภาคธุรกิจ วางปัจจัยและดัชนีชี้วัดความสำเร็จภายในโรงเรียนสายธรรมจันทร์ ดำเนินกลยุทธ์ที่คาดหวังให้ประสบผลสำเร็จ
ขั้นตอน
1. ประชุมคณะกรรมการบริหารโรงเรียนในการวางแผนเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจและขอความเห็นชอบและร่วมกำหนดยุทธ์ศาสตร์ ในการนำระบบสารสนเทศที่จะนำใช้ในการบริหารโรงเรียน
2. ประชุมชี้แจงครูเพื่อให้ทุกคนรับทราบนโยบายและเห็นความสำคัญของการใช้
สารสนเทศ ในการบริหารงานในด้านต่าง ๆ
3. เลือกใช้โปรแกรมในการจัดทำฐานข้อมูลของโรงเรียนทั้งหมด
4. จัดการอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ในการควบคุมและการใช้งานระบบสารสนเทศของ
โรงเรียน
5. ทดลองใช้ และปรับปรุง
6. ประเมินผลการใช้ระบบสารสนเทศของโรงเรียน
7. นำผลการประเมินมาใช้ในการพัฒนาระบบต่อไป
ผลกระทบ

ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงแรกคือ ความไม่เข้าใจและไม่สันทัดในการใช้ข้อมูลข่าวสารด้วยระบบสารสนเทศ อีกทั้งการใช้งานในการเก็บข้อมูลคงมีปัญหา

สรุปได้ว่า การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ จะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงาน เป็นประโยชน์ในการกำกับ ติดตาม และประเมินการทำงานของบุคลากรในโรงเรียน จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้รับผิดชอบต้องดำเนินการต่อไป

2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการจัดทำแผนแม่บทด้านไอซีที (ICT) ฉบับที่ 2 ของรัฐบาลไทย จงสังเคราะห์ความรู้จากแผนแม่บทมาเป็นอรรถาธิบายให้แจ้งชัด

ตอบ
เห็นด้วยกับการจัดทำแผนแม่บทด้าน ICT ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2552 – 2556) ของรัฐบาลไทย เพราะจากการศึกษารายละเอียดประเด็นยุทธศาสตร์ ของแผนแม่บทด้านไอซีที (ICT) ฉบับที่ 2 พบว่ามีสาระสำคัญเพื่อเร่งพัฒนากำลังคนที่มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอที่จะรองรับการพัฒนาประเทศไปสู่สังคมฐานความรู้และนวัตกรรม ทั้งบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ICT Professional) และบุคลากรในสาขาอาชีพต่าง ๆ รวมถึงเยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และประชาชนทุกระดับ ให้มีความรู้ความสามารถในการสร้างสรรค์ ผลิต และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม วิจารณญาณ และรู้เท่าทัน(Information Literacy) ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนและสังคมโดยรวม โดยมีมาตรการที่สำคัญแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ
1. การพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประกอบด้วย
1.1 การพัฒนาผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาให้มีทักษะและคุณภาพตรง
ตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
1.2 พัฒนาบุคลากรICTที่ปฎิบัติงานในภาคอุตสาหกรรมให้มีความรู้ ทักษะและศักยภาพสูงขึ้น
2. การพัฒนาบุคลากรในสาขาวิชาชีพอื่น ๆ และบุคคลทั่วไป ซึ่งประกอบด้วย
2.1 ส่งเสริมให้มีการนำ ICT มาใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนในการศึกษาในระบบทุกระดับมากขึ้น โดยมุ่งเน้นที่การศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นสำคัญ
2.2 พัฒนาการเรียนรู้ ICT นอกสถาบันการศึกษาเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการจัดให้มีแหล่งเรียนรู้ ICT ในชุมชน
2.3 พัฒนาทักษะ ICT แก่แรงงานในสถานประกอบการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน
2.4 พัฒนาการเรียนรู้ ICT แก่ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และผู้สูงอายุ
2.5 พัฒนาความรู้และทักษะด้าน ICT แก่บุคลากรภาครัฐ เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะที่สอดคล้องกับมาตรฐานตำแหน่ง
3. มาตรการสนับสนุนอื่น ๆ เพื่อเสริมสร้างการพัฒนา “คน” ในวงกว้าง
นอกจากนั้นแผนแม่บทฉบับนี้ ยังได้จัดทำยุทธศาสตร์การบริหารจัดการระบบ ICT ระดับชาติอย่างมีธรรมาภิบาล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงการบริหารจัดการและการกำกับดูแล กลไกและกระบวนการในการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศให้มีธรรมาภิบาล โดยเน้นความเป็นเอกภาพ การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศและการสื่อสารให้มีการกระจายอย่างทั่วถึงไปสู่ประชาชน ทั่วประเทศ
ยุทธศาสตร์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารและการบริการของภาครัฐ มุ่งเน้นให้หน่วยงานของรัฐใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อสนับสนุนการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารและการบริการ
ยุทธศาสตร์การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม ICT เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและรายได้เข้าประเทศ เป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ ICT ไทยโดยมุ่งเน้นการสร้างงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมภายในประเทศทั้งจากหน่วยงานรัฐ ภาคการศึกษาและภาคอกชนภาค ให้สามารถผลิตเทคโนโลยีในระดับต้นน้ำเพิ่มขึ้น
ยุทธศาสตร์การใช้ ICT เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมภาคการผลิตของประเทศให้เข้าถึงและสามารถใช้ประโยชน์จาก ICT เพื่อก้าวไปสู่การผลิตและการค้าสินค้าและบริการ
กล่าวโดยสรุปแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2552 – 2556) เป็นแผนที่เร่งพัฒนาคุณภาพของประชาชน ในทุกอาชีพทุกสาขา อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้กับประชาชนในการเข้าถึงเทคโนโลยี เพื่อการก้าวเข้าสู่สังคมโลกยุคใหม่ที่ไร้พรมแดน
3. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการใช้กระบวนการทางกฎหมาย (กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550) เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อินเทอร์เน็ทเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด จงอภิปรายถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องให้เห็นเป็นรูปธรรม

ตอบ
เห็นด้วยกับกับการใช้กระบวนการทางกฎหมาย(กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550) เนื่องจากปัจจุบันพบว่าการใช้งานคอมพิวเตอร์ รวมถึงเครือข่ายนั้นง่ายต่อการเข้าถึง และยากต่อการตรวจสอบ จึงพบว่ามีผู้ไม่ประสงค์ดีใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ทเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด ทั้งการล่วงละเมิดสิทธิผู้อื่น การค้าขายของผิดกฎหมาย และอื่น ๆ อีกมากมาย ทำให้เกิดความเสียหายทั้งกับบุคคลและองค์กรต่าง ๆ ดังนั้นการออกกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 จึงมีความสำคัญและจำเป็นเพื่อป้องกันและควบคุมไม่ให้เกิดการกระทำที่ผิดอีก
ตัวอย่างเช่น
ในมาตรา 9 ข้อมูลของผู้อื่นอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเขาดี ๆ หากผู้ใดไปทำให้เสียหาย เปลี่ยนแปลง แก้ไขหรือเพิ่มเติม มีโทษจำคุกไมเกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
มาตรา 16 ผู้ใดส่งภาพ การตัดต่อ ดัดแปลง ส่งต่อภาพผู้อื่น หรือข้อความ ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง อับอาย จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท อย่างเช่นพวกดาราสาว ๆ มักโดนตัดต่อภาพ ทำให้ได้รับความอับอาย และเสียชื่อเสียง
หรือแม้แต่การลักลอบนำเพลงหรือภาพยนตร์ ใหม่มาลงไว้ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ท ก็ถือได้ว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เข้าข่ายผิดกฏหมายลิขสิทธิ์ด้วย
สรุปได้ว่ากฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายที่จะเข้าไปดำเนินการกับผู้กระทำความผิดทางด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อแก้ปัญหาการทำความผิดจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อินเทอร์เน็ท โดยใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด เพราะปัจจุบันการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้เข้ามามีบทบาท และทวีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ทั้งต่อระบบเศรษฐกิจ ระบบการศึกษา อีกทั้งยังช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศ แต่ในขณะเดียวกันการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ก็มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นและทวีความรุนแรง มากขึ้นด้วย กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เป็นกฎหมายที่ดีและมีประโยชน์ เพราะทำให้สามารถควบคุม ป้องกัน และป้องปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ให้น้อยลง อีกทั้งช่วยให้การดำเนินการตามกฎหมายสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว เพื่อประโยชน์ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

ความภาคภูมิใจและความสำเร็จ